ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก เมื่อทีมยักษ์ใหญ่อยากเขี่ย ยูฟ่า ในฐานะเจ้ามือ - OPINION

Borussia Dortmund v Manchester City  - UEFA Champions League Quarter Final 1: Leg Two
Borussia Dortmund v Manchester City - UEFA Champions League Quarter Final 1: Leg Two / Frederic Scheidemann/Getty Images
facebooktwitterreddit

กลายเป็นร้อนฉ่าของวงการลูกหนังโลกไปเลย สำหรับ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า เดอะซูเปอร์ลีก ซึ่งได้เปิดตัวกันไปแล้ว โดยมี 12 สโมสรชั้นนำของยุโรปตบเท้าเข้าร่วมในฐานะ "ทีมร่วมก่อตั้ง" ขึ้นมาด้วย ไล่ตั้งแต่ 3 ทีมจากกัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี ไม่ว่าจะเป็น ยูเวนตุส, เอซี มิลาน, อินเตอร์ มิลาน ร่วมผนึกกำลังกับอีก 3 ทีมจากลาลีกา สเปน ได้แก่ เรอัล มาดริด, บาร์เซโลน่า, แอต.มาดริด และอีก 6 ทีมจากพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ในกลุ่ม "Bix6" นั่นก็คือ แมนฯ ซิตี้, ลิเวอร์พูล, เชลซี, อาร์เซนอล, สเปอร์ส, แมนฯ ยูไนเต็ด

The Top Six Club Badges
The Top Six Club Badges / Visionhaus/Getty Images

ทั้งนี้ ฟลอเรนติโน เปเรซ ประธานสโมสร เรอัล มาดริด ได้สวมบทเป็นประธานคนแรกของ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก และบรรดา 12 ทีมร่วมก่อตั้งได้เริ่มทยอยลาออกจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับวงการฟุตบอลยุโรปแล้วด้วย เพื่อร่วมกันเดินหน้าให้เกิดขึ้นจริงๆ เสียที หลังจากที่เคยมีข่าวแบบนี้มานานหลายปีแล้ว ส่วน 2 ทีมยักษ์ใหญ่แห่งศึกบุนเดสลีกา เยอรมนี อย่าง "เสือใต้" บาเยิร์น มิวนิค และ "เสือเหลือง" โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ได้พร้อมใจตอบปฏิเสธการเข้าร่วมเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับบรรดาทีมลูกหนังจากศึกลีก เอิง ฝรั่งเศส ซึ่งนิ่งเฉยทั้งหมดเลย แม้จะได้รับคำเชื้อเชิญให้เป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งด้วยก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าอยากจะอยู่ร่วมฟาดแข้งในศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก มากกว่า ซึ่งเตรียมเปลี่ยนรูปแบบเพิ่มเป็น 36 ทีมที่คาดว่าจะเริ่มต้นกันในช่วงปี 2024 เป็นต้นไป

ตอนนี้ สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป หรือ ยูฟ่า กับ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า รวมถึงอีกหลายๆ องค์กรลูกหนังในยุโรปได้ออกมาประณามการก่อตั้ง "ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก" กันเป็นแถว และขู่แบนบรรดาสโมสร รวมถึงนักเตะที่เข้าร่วมแข่งขันออกจากเกมระดับชาติทั้งหลายเลยด้วย ส่วน 2 ทีมยักษ์ใหญ่แห่งศึกบุนเดสลีกา เยอรมนี อย่าง "เสือใต้" บาเยิร์น มิวนิค และ "เสือเหลือง" โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ได้พร้อมใจตอบปฏิเสธการเข้าร่วมเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับบรรดาทีมลูกหนังจากศึกลีก เอิง ฝรั่งเศส ซึ่งยังคงสงวนทีท่าเอาไว้ทั้งหมด แม้จะได้รับคำเชื้อเชิญให้เป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งด้วยก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าอยากจะอยู่ร่วมฟาดแข้งในศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก มากกว่า ซึ่งเตรียมเปลี่ยนรูปแบบเพิ่มเป็น 36 ทีมที่คาดว่าจะเริ่มต้นกันในช่วงปี 2024 เป็นต้นไป

FIFA Women's World Cup 2019 play off final"Women: The Netherlands v Switzerland"
UEFA / VI-Images/Getty Images

แน่นอนว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเรื่องของเงินๆ ทองๆ แบบหลีกเสี่ยงไม่ได้เลย ยิ่งเจอยุคโควิด-19 เล่นงานเข้าไปด้วยแล้ว ทำให้รายได้ในส่วนของการจำหน่ายตั๋วเข้าชมเกมให้กับแฟนบอลของทีมต่างๆ สูญหายไปทั้งหมดเลย และยังไม่รู้ว่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานเท่าไรด้วย จึงต้องร่วมตัวกันเพื่อเปิดช่องทางหารายได้ในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะต้องได้มากกว่าในยามลงเตะศึกฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยมุ่งหน้าในเรื่องของค่าลิขสิทธิ์เป็นหลัก และเป็นการตัด ยูฟ่า ซึ่งถูกพวกทีมยักษ์ใหญ่มองว่าเป็น "เจ้ามือ" ออกจากสาระบบไปเลยด้วย เพื่อที่จะได้สวมบทนี้แทนแล้วจัดสรรผลประโยชน์แบ่งเงินตรงจุดนี้กันเอาเองดีกว่า

ก่อนหน้านี้ ยูฟ่า ซึ่งเป็นโต้โผจัดการแข่งขันศึกลูกหนังสโมสรยุโรปถึง 3 รายการ นั่นก็คือ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก, ยูฟ่า ยูโรปาลีก รวมถึง ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ ได้เปิดเผยเรื่องรายรับในฤดูกาล 2018/2019 (ในส่วนของฤดูกาล 2019/2020 จะมีการเปิดเผยในช่วงเดือน มิ.ย.นี้) โดยมีเงินรายรับเข้ามาสูงถึง 3.85 พันล้านยูโรเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่มาจากเงินค่าลิขสิทธิ์สูงถึง 3.787 พันล้านยูโรเลยด้วย และมีการจัดสรรปันส่วนให้ทีมต่างๆ ที่ได้ฟาดแข้งในศึกลูกหนังสโมสรยุโรป ซึ่งต้องแบ่งให้กับทีมระดับเล็กๆ ด้วย จึงถูกพวกทีมใหญ่ๆ มองว่า ไม่แฟร์ เพราะมีแฟนบอลติดตามน้อยกว่าเยอะเลยนั่นเอง ยกตัวอย่างจากถ้วยใหญ่สุดในศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ตามผลงานของแต่ละทีมตามตัวเลขที่ได้มีการแจกจ่ายกันในช่วงฤดูกาล 2019/2020 ดังต่อไปนี้เลย

FC Sevilla v Stade Rennais: Group E - UEFA Champions League
FC Sevilla v Stade Rennais: Group E - UEFA Champions League / Fran Santiago/Getty Images

รอบแบ่งกลุ่ม : ทั้ง 32 ทีมสุดท้ายที่ได้ผ่านเข้ามาฟาดแข้งจะได้รับเงินสโมสรละ 15.25 ล้านยูโรไปก่อนเลย

(ทีมชนะในแต่ละเกมได้เงิน 2.7 ล้านยูโร ถ้าเสมอจะได้รับเงินทีมละ 900,000 ยูโร แต่ถ้าแพ้ไม่ได้อะไรติดมือ)

รอบ 16 ทีมสุดท้าย : ได้รับทีมละ 9.5 ล้านยูโร

รอบ 8 ทีมสุดท้าย : ได้รับเงินทีมละ 10.5 ล้านยูโร

รอบรองชนะเลิศ : ทั้ง 4 ทีมจะได้รับเงินทีมละ 12 ล้านยูโร

รอบชิงชนะเลิศ : ทั้ง 2 ทีมจะได้รับทีมละ 15 ล้านยูโร

ทีมแชมป์ : ได้รับเงินเพิ่มอีก 4 ล้านยูโร

เท่ากับว่าทีมไหนก็ตามที่สามารถยึดบัลลังก์ เจ้ายุโรป ได้จากการคว้าชัยได้ทุกเกมมีสิทธิ์รับเงินรางวัลสูงสุดอยู่ที่ตัวเลข 82.45 ล้านยูโร และจากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้เป็นจำนวนรายได้ที่ไม่ได้สูงมากนัก หากเทียบกับรายได้ของ ยูฟ่า และเทียบกับการลงทุนของพวกทีมยักษ์ใหญ่ต่างๆ ในแต่ละฤดูกาล โดยเฉพาะเรื่องของการซื้อเงินแข้งดังระดับ ซูเปอร์สตาร์ เข้ามาเสริมทัพ แถมยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ รวมถึงเรื่องของการจ่ายค่าเหนื่อยให้นักเตะในความดูแลทุกคนที่มูลค่าสูงลิ่วกับทั้งนั้น

FBL-EUR-C1-MAN CITY-LYON
FBL-EUR-C1-MAN CITY-LYON / FRANCK FIFE/Getty Images

ทำให้พวกทีมยักษ์ใหญ่มองว่า ยูฟ่า จัดสรรปันส่วนเงินรางวัลจากการฟาดแข้งในเกมระดับทวีปให้น้อยเกินไป จึงต้องร่วมตัวเพื่อหาแหล่งเงินที่จะเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ในระยะยาวกันเอาเองดีกว่า เพราะไม่อยากให้องค์กรลูกหนังยุโรป หักค่าหัวคิว จากรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการโชว์ฝีเท้าในศึกฟุตบอลสโมสรยุโรปอีกต่อไป โดยแต่ละสโมสรก็เป็นทีมในระดับ "แม่เหล็ก" ที่สามารถดูดดึงแฟนบอลได้แน่ๆ และสามารถขายชื่อเสียงของตัวเองให้กับบรรดาสปอนเซอร์ได้อยู่แล้วทั้งนั้นเลยด้วย

แต่ทางฝั่งขององค์กรลูกหนังต่างๆ ที่คัดค้านมองว่า ยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก เป็นการกระทำของพวก เห็นแก่ตัว และ เห็นแก่เงิน เพราะว่าโครงสร้างของวงการฟุตบอลยุโรปในแต่ละประเทศจะเป็นแบบ "น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า" คือทีมใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงจะคอยช่วยประคองทีมเล็กๆ กันไป หากทีมใหญ่ๆ ในระดับ "แม่เหล็ก" ตัดสินใจแยกตัวไปเตะกันเองก็จะเป็นการทำลายระดับลีกของแต่ละชาติไปด้วย เพราะคงจะไม่มีแฟนบอลอยากดูทีมเล็กๆ เตะกันเองอย่างแน่นอน แม้ว่าพวกทีมยักษ์ใหญ่จะยืนยันว่าพร้อมลงเตะเกมลีกในประเทศต่อไปเหมือนเดิม แต่ก็คงจะเป็นแบบ "ด้อยค่า" เกมในชาติของตัวเองน้อยลงแน่ๆ เพราะว่าพร้อมจะมุ่งสมาธิให้กับ "ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก" เป็นหลักไปเลยดีกว่า และไม่ต้องกังวลเรื่องการทำอันดับในตารางคะแนนเพื่อคว้าโควตาไปเล่นในศึกลูกหนังสโมสรยุโรปอีกต่อไป

FBL-EUR-C1-GER-ESP-BAYERN-BARCELONA
FBL-EUR-C1-GER-ESP-BAYERN-BARCELONA / -/Getty Images

โปรดติดตามกันต่อไปว่าบทสรุปเรื่องนี้จะลงเอยกันอย่างไร แต่ที่แน่ๆ หาก ยูฟ่า ในฐานะ "เจ้ามือ" สามารถเคลียร์เรื่องของผลประโยชน์ให้ทุกฝ่ายได้แบบลงตัว การก่อตั้งของ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก ก็จะเป็นเพียงแค่ "เสือกระดาษ" ที่จะถูกเขียนขึ้นมาในยามที่พวกทีมใหญ่ๆ ไม่พอใจของเรื่องเงินๆ ทองๆ ซึ่งเคยมีข่าวแบบนี้มานานหลายปีแล้วด้วย แต่ก็ไม่เคยจะเกิดขึ้นจริงเสียที

สรุปรูปแบบการแข่งขัน "ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก" ในเบี้องต้น

- ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีทั้งสิ้น 20 ทีม โดยเป็นสโมสรผู้ก่อตั้งที่จะได้สิทธิ์ถาวร 15 ทีม (รออีก 3 ทีมตอบรับอย่างเป็นทางการ) และอีก 5 ทีมที่จะมาจากการคัดเลือก

- แข่งขันใหม่ในรูปแบบลีก (เหย้า-เยือน) และจะฟาดแข้งในช่วงกลางสัปดาห์แทน

- โดยรูปแบบการแข่งขันในรอบแรกจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ทีม ทีมที่ได้อันดับ 1-3 ของแต่ละกลุ่มจะได้ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนที่เหลือจะเป็นทีมอันดับ 4 และ 5 ของกลุ่มที่จะแข่งแบบเพลย์ออฟ 2 เลก

- แข่งขันระหว่างเดือน ส.ค. จนถึง พ.ค. โดยนัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันแบบนัดเดียวรู้ผลที่สนามเป็นกลาง

- พร้อมตั้งลีกผู้หญิงด้วย แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม

- สโมสรที่เข้าร่วมจะยังสามารถแข่งขันในรายการภายในประเทศได้ต่อไป

- ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก มีความตั้งใจที่จะหาทางตกลงร่วมกันกับ ฟีฟ่า และ ยูฟ่า ให้ได้

สนับสนุนบทความของแท้ไม่ก็อปปี้ต้อง 90min.com เท่านั้น! *ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความหรือรูปภาพไม่ว่าวิธีใดๆ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฏหมายที่ระบุไว้สูงสุด