ทำไม ลูกากู ถึงไปไม่รอดกับ เชลซี จนต้องกลับไปยัง อินเตอร์ มิลาน - OPINION

facebooktwitterreddit

โรเมลู ลูกากู ย้ายกลับมายัง เชลซี ด้วยค่าตัวเกือบ 100 ล้านปอนด์เมื่อซัมเมอร์ที่แล้ว แต่ในตอนนี้ เขาเพิ่งจะบรรลุข้อตกลงในการโยกกลับไปค้าแข้งกับ อินเตอร์ มิลาน หลังให้สัมภาษณ์ด้วยความอาลัยอาวรณ์ถึงทีมเก่าใน อิตาลี อยู่เกือบจะตลอดทั้งฤดูกาล

กองหน้าชาว เบลเยี่ยม ยอมรับในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่าเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวิธีการเล่นของ โธมัส ทูเคิล ได้เลยแม้แต่น้อย ซึ่งหากมองแค่ผิวเผินแล้ว มันแทบจะเหมือนว่าทั้งสองทีมนี้มีแทคติกที่คล้ายกัน - ตั้งแต่มีกองหลังสามคนไปจนถึงมิดฟิลด์ที่ครองบอลได้ดีและวิงแบ็คที่พร้อมจะดันสูงอยู่ทุกเมื่อ

แต่แท้จริงแล้วมันยังมีปัจจุบันสำคัญๆอีกหลายประการที่ชัดให้เห็นว่าทำไมแข้งวัย 29 ปี ถึงยิงสลุตเมื่อเล่นใน เซเรีย อา แต่กลับทำไม่ได้เช่นนั้นบ้างใน พรีเมียร์ลีก


1. ขาดคนรู้ใจ

Romelu Lukaku
Romelu Lukaku and Lautaro Martínez of FC Internazionale... / SOPA Images/GettyImages

เราเห็นแล้วว่า แฮร์รี่ เคน กับ ซน เฮือง มิน เมื่อผนึกกำลังกันแล้วเป็นเช่นไร หรือจะเป็นกับ แลมพาร์ด-ดร็อกบา หรือ อองรี กับ ปีแรส ก็ตาม

กองหน้าที่ดีควรมีคนรู้ใจเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานในเกมรุก ดังที่ ลูกากู เคยมี เลาทาโร มาร์ติเนซ ที่ต่างฝ่ายต่างก็แอสซิสต์ให้กันเป็นว่าเล่นในฤดูกาลที่ อินเตอร์ เป็นแชมป์ลีกภายใต้ อันโตนิโอ คอนเต้

ในขณะที่ใน เดอะ บริดจ์ ทั้ง 8 ประตูของ ลูกากู ในลีกนั้นต่างเกิดจากการป้อนบอลจากผู้เล่น 8 คนที่ไม่ซ้ำหน้ากันเลย ซึ่งมันก็มาจากการโรเตชั่นทีมของ ทูเคิล โดยเฉพาะในแดนหน้าที่สามตัวรุกต่างก็สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันลงสนามเป็นว่าเล่น

อันที่จริงมีเพียง รูดิเกอร์ คนเดียวเท่านั้นที่เป็นผู้เล่นเอาท์ฟิลด์ที่ได้ออกสตาร์ทเกิน 30 นัดในฤดูกาลที่เพิ่งผ่านพ้นไป

2. รูปแบบการเล่น

Romelu Lukaku
Chelsea v Crystal Palace: The Emirates FA Cup Semi-Final / Craig Mercer/MB Media/GettyImages

ขณะที่ คอนเต้ มาพร้อมแผนการเล่นแบบ 3-5-2 ที่เปิดโอกาสให้กองหน้าทั้งสองคนสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระเพื่อช่วยเหลือกัน

กับ ทูเคิล มันจะเป็น 3-4-2-1 โดยที่ ลูกากู จะต้องเป็นศูนย์หน้าตัวเป้าแต่เพียงผู้เดียวที่ต้องคอยถอยลงมาเพื่อดึงกองหลังและเปิดพื้นที่ให้ตัวรุกหุบเข้าไปเล่นงานคู่แข่งได้ พร้อมๆกับการที่วิงแบ็คจะเดินหน้าสร้างความอันตรายจากริมเส้น

กองหน้าที่จะไปได้สวยในแผนการเล่นนี้ ต้องเคลื่อนที่ได้คล่องแคล่วและพร้อมจะโฉบไปมาได้อยู่เสมอ ซึ่งนั่นไม่ใช่ ลูกากู เลย - เขาเป็นกองหน้าที่พักบอลได้ดีแลหากได้รับการป้อนบอลมาให้อย่างเหมาะสม เขาก็พร้อมที่จะเปลี่ยนมันเป็นประตูได้เป็นกอบเป็นกำ

กับ คอนเต้ ทุกคนในทีมมีเป้าหมายอยู่ที่การส่งบอลไปให้กองหน้าทั้งสองให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะที่กับ ทูเคิล มันคือการเล่นกับพื้นที่และใจเย็นเพื่อรอโอกาสที่เหมาะสม

จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดกองหน้าของ ทูเคิล ถึงมีอัตราการสัมผัสบอลต่อเกมที่น้อยกว่าตำแหน่งอื่นๆ เทียบง่ายๆกับ คริสเตียน พูลิซิช ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ยในการสัมผัสบอลที่ 30 ครั้งต่อเกม แต่เมื่อถูกจับมาเล่นเป็นกองหน้า จำนวนดังกล่าวกลับลดลงเหลือเพียง 30 เท่านั้น

มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าทำไม แฮร์รี่ เคน ถึงมีอัตราการสัมผัสบอลมากขึ้นเมื่อ คอนเต้ เข้ามาคุม สเปอร์ส เมื่อเทียบกับในตอนที่ นูโน คุมทีม

3. ผู้จัดการทีม

FC Internazionale v Genoa CFC - Serie A
FC Internazionale v Genoa CFC - Serie A / Stefano Guidi/GettyImages

เมื่อครั้งย้ายมาจาก แมนฯ ยูไนเต็ด - ลูกากู ไม่ใช่กองหน้าที่เก่งอาจเช่นนี้ แต่เมื่อมาอยู่ในมือของ คอนเต้ ที่เคี่ยวเข็ญเขาอย่างหนักทั้งเรื่องแทคติก ร่างกายและจิตใจ เขาจึงกลายมาเป็นผู้เล่นที่สมบูรณ์แบบและลงตัวอย่างมากกับสไตล์การเล่นบอลสวนกลับของกุนซือชาว อิตาเลียน

ขณะที่กับ ทูเคิล ไม่เพียงแต่แทคติกจะไม่ใช่แล้ว เขายังไม่ไดัรับการสนับสนุนที่มากพออีกด้วย ยามที่ตัวเองเล่นไม่ดีและถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนาๆ

ผลลัพธ์ของการย้ายทีมที่ไม่ได้เป็นอย่างที่คิดส่งผลโดยตรงต่อความมั่นใจของ ลูกากู อย่างที่เห็นในเกมกับ คริสตัล พาเลซ ซึ่งเขาสัมผัสบอลไปเพียง 7 ครั้งเท่านั้น - แทคติกก็ส่วนหนึ่ง ความร้ายกาจของ วิเอร่า ก็ส่วนหนึ่ง แต่ ลูกากู ไม่ได้พยายามพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่จะเล่นบอลได้เลย เขาไม่วิ่ง ไม่หาช่อง ไม่สื่อสารกับเพื่อนร่วมทีมแม้แต่น้อย

เพราะฉะนั้นบางทีแล้วนอกจากจะโทษปัจจัยภายนอก บางครั้ง ลูกากู ก็อาจจะต้องส่องกระจกแล้วถามตัวเองดูบ้าง ว่าเขาทำดีพอแล้วหรือยัง

เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่มีใครจะเอาเขาไปเทียบกับ ติโม แวร์เนอร์ หรอกว่าแม้จะเป็นดีลที่ล้มเหลวทั้งคู่ แต่ทัศนติและการแสดงออกจากผู้เล่นทั้งสองกลับแตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง