คู่มือ ฟุตบอลโลก 2022: ทุกอย่างที่ควรรู้ สถิติที่ต่าง ๆ และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

FBL-WC-2022-QAT-ALGERIA-LOGO
FBL-WC-2022-QAT-ALGERIA-LOGO / -/GettyImages
facebooktwitterreddit

หลายคนคงทราบดีแล้วว่า ฟุตบอลโลก 2022 ที่จะจัดขึ้นในประเทศกาตาร์นั้นกำลังใกล้เข้ามาทุกขณะโดยตามโปรแกรมจะลงฟาดแข้งกันตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 18 ธันวาคม โดยถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการจัดการแข่งขันในประเทศแถบตะวันออกกลาง นั่นทำให้การแข่งขันต้องเลือนมาแข่งในช่วงปลายปีที่เป็นฤดูหนาวเนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดในดินแดนอาหรับนั่นเอง

บทความนี้เราได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟุตบอลโลกช่วงปลายปี รวมถึงข้อเท็จจริงและสถิติจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของฟุตบอลรายการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยทัวร์นาเมนต์จะเริ่มต้นขึ้น !


ว่าด้วยเรื่อง "ฟุตบอลโลก"

ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ หรือ ฟุตบอลโลก ตามที่เราเรียกกัน เป็นรายการทัวนาเมนต์ฟุตบอลระดับนานา ๆ ชาติ ที่มีทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันในนามของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกของ ฟีฟ่า โดยจะมีการคัดเลือกชาติตัวแทนจาก 6 ทวีป ประกอบด้วย แอฟริกา เอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ โอเชียเนีย และ ยุโรป ซึ่งแต่ละปีจะมีประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันและเจ้าภาพจะได้สิทธิร่วมลงแข่งขันรอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับทีมแชมป์เก่าจากปีที่ผ่านมา


จุดเริ่มต้น

หลังจาก ฟีฟ่า ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1904 ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้น 26 ปีหรือในปี 1930 ประเทศสมาชิกจำนวน 13 ทีมตอบรับเข้าร่วมการแข่งขัน "ฟุตบอลโลก" ครั้งแรกโดยมีอุรุกวัยเป็นเจ้าภาพและมีทีมจากยุโรปเข้าร่วมทั้งหมด 4 ชาติ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ยูโกสลาเวีย และ โรมาเนีย ซึ่งในปีนั้น ทัพจอมโหด เจ้าบ้านเอาชนะ อาร์เจนตินา คว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ ก่อนที่ครั้งต่อมาในปี 34 และ 38 จะเพิ่มเป็น 16 ทีมและเป็น อิตาลี ที่คว้าแชมป์มาครองได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามในปี 42 และ 46 ไม่มีการแข่งขันเนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลับมาทำการแข่งขันได้อีกครั้งในปี 1950 ซึ่งจากวันนี้มาจนถึงปัจจุบันมีอีกเพียง 6 ชาตินอกเหนือจากสองประเทศที่กล่าวไปที่เคยคว้าแชมป์รายการนี้ประกอบด้วย บราซิล อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และ สเปน เท่านั้น


ประวัติศาสตร์ผู้ชนะ

  • 1930 - อุรุกวัย 4-2 อาร์เจนตินา
  • 1934 - อิตาลี 2-1 เชคโกสโลวาเกีย(ต่อเวลาพิเศษ)
  • 1938 - อิตาลี 4-2 ฮังการี
  • 1950 - อุรุกวัย 2-1 บราซิล
  • 1954 - เยอรมัน ตะวันตก 3-2 ฮังการี
  • 1958 - บราซิล 5-2 สวีเดน
  • 1962 - บราซิล 3-1 เชคโกสโลวาเกีย
  • 1966 - อังกฤษ 4-2 เยอรมนี ตะวันตก(ต่อเวลาพิเศษ)
  • 1970 - บราซิล 4-1 อิตาลี
  • 1974 - เยอรมนี ตะวันตก 2-1 เนเธอร์แลนด์
  • 1978 - อาร์เจนตินา 3-1 เนเธอร์แลนด์
  • 1982 - อิตาลี 3-1 เยอรมนี ตะวันตก
  • 1986 - อาร์เจนตินา 3-2 เยอรมนี ตะวันตก
  • 1990 - เยอรมนี ตะวันตก 1-0 อาร์เจนตินา
  • 1994 - บราซิล 0-0 อิตาลี (3-2 จุดโทษ)
  • 1998 - ฝรั่งเศส 3-0 บราซิล
  • 2002 - บราซิล 2-0 เยอรมนี
  • 2006 - อิตาลี 1-1 ฝรั่งเศส (5-3 จุดโทษ)
  • 2010 - สเปน 1-0 เนเธอร์แลนด์ (ต่อเวลาพิเศษ)
  • 2014 - เยอรมนี 1-0 อาร์เจนตินา (ต่อเวลาพิเศษ) 
  • 2018 - ฝรั่งเศส 4-2 โครเอเชีย

กฏการแข่งขันเบื้องต้น

การเปลี่ยนตัว

แต่ละนัดในรอบสุดท้ายทุกชาติจะสามารถส่งรายชื่อตัวสำรองได้สูงสุด 12 คน สามารถเปลี่ยนตัวได้ 3 ครั้งแต่ทั้งนี้จะเปลี่ยนได้ไม่เกิน 5 คน และหากมีการต่อเวลาพิเศษทั้งสองทีมจะได้รับโควต้าเปลี่ยนตัวเพิ่มอีกหนึ่งคนทันที

โทษแบน

ผู้เล่นที่โดนไล่ออกจากสนามจะถูกแบนในนัดต่อไปทันทีหนึ่งเกม ทั้งกรณีที่เป็นใบแดงโดยตรงหรือโดนใบเหลือง 2 ใบในหนึ่งเกม และหากนักเตะโดนใบเหลืองสะสมครบ 2 ใบแม้จะเกิดขึ้นคนละเกมก็จะถูกแบนทันทีหนึ่งนัดเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ใบเหลืองจะถูกล้างทันทีหากทีมสามารถเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้


ดาวซัลโวสูงสุด

มิโรสลาฟ โคลเซ ขึ้นนำเป็นดาวยิงสูงสุดตลอดกาลในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมาพร้อมกับการคว้าแชมป์โลกกับทีมชาติ เยอรมนี มาครองได้สำเร็จ ด้วยผลงาน 16 ประตู โดยปัจจุบันคนที่ใกล้เคียงที่สุดที่ยังค้าแข้งอยู่ก็คือรุ่นน้องอย่าง โธมัส มึลเลอร์ ที่ยิงไปแล้ว 10 ประตูตามมาแบบห่าง ๆ นั่นเอง

  1. มิโรสลาฟ โคลเซ (เยอรมนี) - 16
  2. โรนัลโด้ (บราซิล) - 15
  3. เกิร์ด มึลเลอร์ (เยอรมนี) - 14
  4. ฌุสต์ ฟงแตน (ฝรั่งเศส) - 13
  5. เปเล (บราซิล) - 12
  6. แซนดอร์ คอคซิส (ฮังการี) - 11
  7. เยอร์เก้น คลินสมันน์ (เยอรมนี) - 11
  8. เฮลมุต ราห์น (เยอรมนี) - 10
  9. แกรี ลินิเกอร์ (อังกฤษ) - 10
  10. กาเบรียล บาติสตูต้า (อาร์เจนตินา) - 10
  11. ทีโอฟิโล คูบิญาส (เปรู) - 10
  12. โธมัส มึลเลอร์ (เยอรมนี) - 10
  13. เกอร์เซกอร์ซ เลโต้ (โปแลนด์) - 10
  14. อูเซบิโอ (โปรตุเกส) - 9
  15. คริสเตียน วิเอรี (อิตาลี) - 9

นักเตะยอดเยี่ยม...

โกลเด้น บอล คือหนึ่งในรางวัลประจำทัวร์นาเมนต์ของฟุตบอลโลกที่จะมอบให้นักเตะที่ว่ากันว่าดีที่สุดประจำปีนั้น ๆ โดยเริ่มมีการมอบรางวัลนี้ตั้งแต่ ฟุตบอลโลก 1982 ลแะนักฟุตบอลคนแรกที่ได้รับคือ เปาโล รอสซี จาก อิตาลี นั่นเอง

  • 1982 - เปาโล รอสซี (อิตาลี)
  • 1986 - ดิเอโก มาราโดนา (อาร์เจนตินา)
  • 1990 - ซัลวาตอเร สชิลลาซี (อิตาลี)
  • 1994 - โรมาริโอ (บราซิล)
  • 1998 - โรนัลโด้ (บราซิล)
  • 2002 - โอลิเวอร์ คาห์น (เยอรมนี)
  • 2006 - ซิเนดีน ซีดาน (ฝรั่งเศส)
  • 2010 - ดิเอโก้ ฟอร์ลัน (อุรุกวัย)
  • 2014 - ลิโอเนล เมสซี (อาร์เจนตินา)
  • 2018 - ลูก้า โมดริช (โครเอเชีย)

ดาวรุ่งยอดเยี่ยม...

เช่นเดียวกับนักเตะยอดเยี่ยม แต่สำหรับรางวัลนี้จะมอบให้กับดาวรุ่งพุ่งแรงที่ทำผลงานได้โดดเด่นที่สุดในทัวร์นาเมนต์ ซึ่งอันที่จริงรางวัลนี้เพิ่งจะเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ ฟุตบอลโลก 2006 ที่ผ่านมานี่เอง โดย ลูคัส โพดอลสกี้ จาก เยอรมนี เป็นผู้คว้ารางวัลนี้ไปครอง แต่หลังจากนั้น ฟีฟ่า ได้ทำการเปิดให้โหวตย้อนหลังยาวไปจนถึงปี 1958 และนี่คือผลการโหวตทั้งหมด

  • 1958 - เปเล (บราซิล)
  • 1962 - ฟลอเรียน อัลเบิร์ต (ฮังการี)
  • 1966 - ฟรานซ์ เบ็คเคนบาวเออร์ (เยอรมนี)
  • 1970 - ทีโอฟิโล คูบิญาส (เปรู)
  • 1974 - วลาดิสลาฟ ซมูดา (โปแลนด์)
  • 1978 - อันโตนิโอ คาบรินี (อิตาลี)
  • 1982 - มานูเอล อโมรอส (ฝรั่งเศส)
  • 1986 - เอ็นโซ ไซโฟ (เบลเยียม)
  • 1990 - โรเบิร์ต โพรซินสกี้ (ยูโกสลาเวีย)
  • 1994 - มาร์ค โอเวอร์มาร์ส (เนเธอร์แลนด์)
  • 1998 - ไมเคิล โอเวน (อังกฤษ)
  • 2002 - แลนดอน โดโนแวน (สหรัฐอเมริกา)
  • 2006 - ลูคัส โพดอลสกี้ (เยอรมนี) 
  • 2010 - โธมัส มึลเลอร์ (เยอรมนี)
  • 2014 - พอล ป็อกบา (ฝรั่งเศส)
  • 2018 - คิเลียน เอ็มบัปเป้ (ฝรั่งเศส)

ดาวซัลโวสูงสุด...

รางวัล "โกลเด้น บูท" จะถูกมอบให้กับนักเตะที่ยิงประตูได้มากที่สุดใน ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของทุก ๆ ปี ซึ่งอันที่จริงเพิ่งจะมีการมอบรางวัลนี้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ฟุตบอลโลก 1982 เป็นต้นมา ก่อนจะมีการจดสถิติย้อนหลังกลับไปจนถึงฟุตบอลโลกครั้งแรก

หากกรณีที่มีนักเตะมากกว่าหนึ่งคนที่ยิงประตูได้สูงที่สุดเท่ากัน จะมีหลักในการคัดเลือกให้เหลือเพียงคนเดียว โดยจะมีเกณฑ์ตามลำดับดังนี้
- ประตูที่ทำได้ตัดการยิงจุดโทษออกไป
- จำนวนแอสซิสต์
- จำนวนเวลาที่ลงสนาม (น้อยกว่า)

  • 1930 - กิเญร์โม สตาบิเล (อาร์เจนตินา) - 8
  • 1934 - โอลดริช เนเยดี (เชคโกสโลวาเกีย) - 5
  • 1938 - ลีโอไนดาส (บราซิล) - 7
  • 1950 - อเดเมียร์ (บราซิล) - 8
  • 1954 - ซานดอร์ คอคซิส (ฮังการี) - 11
  • 1958 - ฌุสต์ ฟงแตน(ฝรั่งเศส) - 13
  • 1962 - ฟลอเรียน อัลเบิร์ต (ฮังการี), วาเลนติน อิวานอฟ (สหภาพโซเวียต), การ์รินชา (บราซิล), วาวา (บราซิล), ดราซาน เยอร์โควิช (ยูโกสลาเวีย), ลิโอเนล ซานเชซ (ชิลี) - 4
  • 1966 - อูเซบิโอ (โปรตุเกส) - 9
  • 1970 - เกิร์ด มึลเลอร์ (เยอรมนี) - 10
  • 1974 - เกอร์เซกอร์ซ ลาโต้ (โปแลนด์) - 7
  • 1978 - มาริโอ แคมเปส (อาร์เจนตินา) - 6
  • 1982 - เปาโล รอสซี (อิตาลี) - 6
  • 1986 - แกรี ลินีเกอร์ (อังกฤษ) - 6
  • 1990 - ซัลวาตอเร สชิลลาซี (อิตาลี) - 6
  • 1994 - โอเลก ซาเลนโก้ (รัสเซีย), ฮิสโต สตอยชคอฟ (บัลแกเรีย) - 6
  • 1998 - ดาเวอร์ ซูเคอร์ (โครเอเซีย) - 6
  • 2002 - โรนัลโด้ (บราซิล) - 8
  • 2006 - มิโรสลาฟ โคลเซ (เยอรมนี) - 5
  • 2010 - โธมัส มึลเลอร์ (เยอรมนี) - 5
  • 2014 - ฮาเมส โรดริเกวซ (โคลอมเบีย) - 6
  • 2018 - แฮร์รี เคน (อังกฤษ) - 6

จอมหนึบประจำทัวร์นาเมนต์...

โกลเด้น โกลฟ คือรางวัลที่จะมอบให้กับผู้รักษาประตูที่ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมที่สุดใน ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ของแต่ละปี โดยเดิมทีเคยถูกเรียกว่า "เรฟ ยาชิน อวอร์ด" และเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ 1994 ก่อนจะถูกเปลี่อนชื่อมาเป็น โกลเด้น โกลฟ เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา

  • 1994 - มิเชล พรูดอม (เบลเยียม)
  • 1998 - ฟาเบียน บาร์เตซ (ฝรั่งเศส)
  • 2002 - โอลิเวอร์ คาห์น (เยอรมนี)
  • 2006 - จิอันลุยจิ บุฟฟอน (อิตาลี)
  • 2010 - อิเกร์ คาซิญาส (สเปน)
  • 2014 - มานูเอล นอยเออร์ (เยอรมนี)
  • 2018 - ธีโบต์ กูร์ตัวส์ (เบลเยียม)

นักเตะที่ลงสนามมากที่สุด..

สถิติ ณ ปัจจุบันยังเป็นของ โลธาร์ มัตเธอุส จาก ทีมชาติเยอรมนี ที่ทำเอาไว้สูงถึง 25 เกมด้วยกัน โดยนักเตะที่ยังค้าแข้งอยู่ในปัจจุบันและมีโอกาสเทียบสถิติได้นั่นก็คือ ลิโอเนล เมสซี ที่ลงสนามไปแล้ว 19 นัด แต่นั่นหมายความว่าเจ้าตัวต้องพา อาร์เจนตินา ไปถึงรอบชิงชนะเลิศให้ได้เท่านั้น

  1. โลธาร์ มัตเธอุส (เยอรมนี) - 25
  2. มิโรสลาฟ โคลเซ (เยอรมนี) - 24
  3. เปาโล มัลดินี (อิตาลี) - 23
  4. ดิเอโก มาราโดนา (อาร์เจนตินา) - 21
  5. อูเว ซีเลอร์ (เยอรมนี ตะวันตก) - 21

ฟุตบอลโลกครั้งต่อไป ?

อย่างที่ทราบกันดีว่าฟุตบอลโลกจะจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดย ฟุตบอลโลก 2026 จะจัดขึ้นใน 3 ประเทศได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก และ สหรัฐอเมริกา ส่วนในปี 2030 นั้นยังไม่มีการประกาศประเทศเจ้าภาพอย่างเป็นทางการ ณ เวลานี้


ที่มาของ กาตาร์

ชีค โมฮาเหม็ด บิน ฮาเม็ด บิน คาลิฟา อัล-ธานี พี่ชายแท้ ๆ ของ ประมุขกาตาร์คนปัจจุบัน เป็นกำลังหลักในการเสนอชื่อและนำพาประเทศมาถึงจุดที่สามารถจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้สำเร็จ โดยระหว่างการเสนอชื่อนั้น กาตาร์ ถูกวิจารณ์อย่างหนักถึงขนาดของประเทศที่อาจจะไม่พร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และอากาศในฤดูร้อนที่ร้อนจัดถึง 40 องศาเซลเซียส รวมถึงปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ยังคงแพร่หลายในประเทศ ณ ปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามในปี 2010 พวกเขาก็ได้รับการโหวตให้เป็นเจ้าภาพในปี 2022 และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดย เซปป์ เบลตเทอร์ อดีตประธานบริหารของ ฟีฟ่า อย่างเป็นทางการ ซึ่งนี่เป็นการเดิมพันอย่างกล้าหาญในการนำฟุตบอลโลกเข้ามาจัดการแข่งขันในดินแดนตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์


สนามที่ใช้การแข่งขัน

8 สนามที่ใช้ในการแข่งขัน อยู่ห่างจากใจกลางกรุงโดฮาไม่เกิน 21 ไมล์ ซึ่งแต่ละสนามมีการใช้พลังงานสะอาด ที่จะช่วยในระบบปรับความเย็นภายใน หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นสนามฟุตบอลที่ติดแอร์นั่นเอง

  • ลูเซล ไอคอนิค สเตเดี้ยม - ลูเซล
  • อัล เบย์ท สเตเดี้ยม - อัล คอร์
  • เอดูเคชั่น ซิตี้ เสเดี้ยม - อัล เรย์ยาน
  • อาหมัด บิน อาลี สเตเดี้ยม - อัล เรย์ยาน
  • อัล จานูบ สเตเดี้ยม - อัล วาคราห์
  • สเตเดี้ยม 974 - โดฮา
  • อัล ธูมามา สเตเดี้ยม - โดฮา
  • คาลิฟา อินเตอร์เนชั่นนัล สเตเดี้ยม - อัล เรย์ยาน

ทำความรู้จัก 8 สนามสุดอังการที่ใช้ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022


รอบชิงชนะเลิศ...

การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศปีนี้ จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม เวลา 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ที่สนาม ลูเซล ไอคอนิค สเตเดี้ยม ที่มีความจุรองรับผู้ชมได้มากกว่า 80,000 คน


รอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลโลก 2022

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้มีการจับสายในรอบแบ่งกลุ่มไปเป็นที่เรียบร้อย โดย กาตาร์ ที่เป็นเจ้าภาพและเป็นทีมวางในกลุ่ม เอ จะอยู่ร่วมสายกับ เนเธอร์แลนด์ เซเนกัล และ คู่แข่งในนัดเปิดสนามอย่าง เอกวาดอร์ ขณะที่ขวัญใจมหาชนอย่าง ทีมชาติอังกฤษ จะอยู่ในกลุ่ม บี ร่วมกับ สหรัฐอเมริกา เวลส์ และ อิหร่าน

กลุ่ม เอ : กาตาร์, เอกวาดอร์, เซเนกัล, เนเธอร์แลนด์

กลุ่ม บี: อังกฤษ, อิหร่าน, สหรัฐอเมริกา, เวลส์

กลุ่ม ซี: อาร์เจนตินา, ซาอุดิอาระเบีย, เม็กซิโก, โปแลนด์

กลุ่ม ดี: ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, เดนมาร์ก, ตูนิเซีย

กลุ่ม อี: สเปน, คอสตาริกา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น

กลุ่ม เอฟ: เบลเยียม, แคนาดา, โมร็อกโก, โครเอเชีย

กลุ่ม จี: บราซิล, เซอร์เบีย, สวิตเซอร์แลนด์, แคเมอรูน

กลุ่ม เอช: โปรตุเกส, กานา, อุรุกวัย, เกาหลีใต้

อัพเดทโปรแกรมล่าสุดรอบแบ่งกลุ่ม วันและเวลาการแข่งขันในประเทศไทย


ผู้ตัดสินในฟุตบอลโลก 2022

เช่นเดียวกับทุก ๆ ปีที่ผู้ตัดสินจากสมาคมฟุตบอลทั่วทั่งโลกจะถูกเรียกตัวมามีส่วนร่วมในทัวร์นาเมนต์อันยิ่งใหญ่นี้ ซึ่งจากฝั่งอังกฤษ 2 ผู้ตัดสินชื่อดังอย่าง ไมเคิล โอลิเวอร์ และ แอนโธนี เทย์เลอร์ ก็ถูกเรียกไปร่วมงานด้วยเช่นกัน โดยรายชื่อทั้งหมดมีดังนี้

AFC (เอเชีย)

  • อับดูลรามาน อัล จาสซิม (กาตาร์)
  • คริส บีธ (ออสเตรเลีย)
  • อลิเรซา ฟากานี (อิหร่าน)
  • ม่า หนิง (จีน)
  • โมฮาเหม็ด อับดุลลา ฮัสซาน โมฮาเหม็ด (สหรัฐ อาหรับ เอมิเรตส์)
  • โยชิมิ ยามาชิตะ (ญี่ปุ่น)

CAF (แอฟริกา)

  • บาการี กัสซามา (แกมเบีย)
  • มุสตาฟา กอร์บัล (แอลจีเรีย)
  • วิคตอร์ โกดมส (แอฟริกาใต้)
  • ซาลิมา มูกันซานก้า (รวันดา)
  • มาเกตเต้ เอ็นเดียเย (เซเนกัล)
  • แจนนี ซิกาซวี (แซมเบีย)

CONCACAF (อเมริกาเหนือ)

  • อิวาน บาร์ตัน (เอล ซัลวาดอร์)
  • อิสเมล เอลฟาธ (สหรัฐอเมริกา)
  • มาริโอ เอสโคบา (กัวเตมาลา)
  • ซาอิด มาร์ติเนซ (ฮอนดูรัส)
  • เซซาร์ อาร์ตูโร รามอส (เม็กซิโก)

CONMEBOL (อเมริกาใต้)

  • ราฟาเอล เคราส์ (บราซิล)
  • อันเดรส มาตอนเต้ (อุรุกวัย)
  • เควิน ออร์เตก้า (เปรู)
  • เฟอร์นันโด ราปาญินี (อาร์เจนตินา)
  • วิลตัน ซามไปโอ (บราซิล)
  • ฟาคุนโด้ เทโญ (อาร์เจนตินา)
  • เชซุส วาเลนซูลา (เวเนซูเอลา)

OFC (โอเชียเนีย)

  • แมตธิว คอนเจอร์ (นิวซีแลนด์)

UEFA (ยุโรป)

  • สเตฟานี ฟราปปาร์ท (ฝรั่งเศส)
  • อิสต์วาน โควัคส์ (โรมาเนีย)
  • แดนนี มัคเคลี (เนเธอร์แลนด์)
  • ซีมอน มาร์ซิเนียค (โปแลนด์)
  • อันโตนิโอ มาเตว ลาฮอซ (สเปน)
  • ไมเคิล โอลิเวอร์ (อังกฤษ)
  • ดานิเอเล ออร์ซาโต (อิตาลี)
  • แดเนียล ซีเบิร์ต (เยอรมนี)
  • แอนโธนี เทย์เลอร์ (อังกฤษ)
  • เคลเมนต์ เทอร์ปิน (ฝรั่งเศส)
  • สลาฟโก้ วินซิช (สโลวิเนีย)

ผู้ตัดสิน VAR

AFC (เอเชีย)

  • อับดุลลา อัล มาร์รี (กาตาร์)
  • มูฮัมมัด ทาคิ (สิงคโปร์)
  • ฌอน อีแวนส์ (ออสเตรเลีย)

CAF (แอฟริกา)

  • เรดูอาน จิเยด (โมร็อกโก)
  • อาดิล ซูรัค (โมร็อกโก)

CONCACAF (อเมริกาเหนือ)

  • ดริว ฟิสเชอร์ (แคนาดา)
  • เฟอร์นันโด เกย์เรโร (เม็กซิโก)
  • อาร์มันโด้ บีญาร์เรอัล (สหรัฐอเมริกา)

CONMEBOL (อเมริกาใต้)

  • ฮูลิโอ บาสคูนัน (ชิลี)
  • นิโคลัส กาโญ (โคลอมเบีย)
  • ลีโอดาน กอนซาเลซ (อุรุกวัย)
  • ฆวน โซโต้ (เวเนซูเอลา)
  • เมาโร วิเกลียโน (อาร์เจนตินา)

UEFA (ยุโรป)

  • เฌโรม บริซาร์ด (ฝรั่งเศส)
  • บาสเตียน ดังเกอร์ต (เยอรมนี)
  • ริคาร์โด้ เดอ เบนโกส (สเปน)
  • มาร์โก ฟริตซ์ (เยอรมนี)
  • อเลฮานโดร เฮร์นันเดซ (สเปน)
  • มัสซิมิเลียโน อิร์ราติ (อิตาลี)
  • โทมาสซ์ ควิตคอฟสกี้ (โปแลนด์)
  • ฆวน มานูเอรา (สเปน)
  • เบอนัวต์ มิลลอต (ฝรั่งเศส)
  • เปาโล วาเลรี (อิตาลี)
  • โพล ฟาน โบเคล (เนเธอร์แลนด์)

มาสคอต ฟุตบอลโลก 2022

มาสคอตในฟุตบอลโลกปีนี้มีชื่อว่า "ลาอีบ" ตัวละครที่มีภาพลักษ์ของความสนุนสนานในจักรวาลของมาสคอต ซึ่งแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ ที่มักจะใช้สิ่งมีชีวิตที่มีตัวตนอยู่จริงมาเป็นต้นแบบ โดยเจ้าภาพกล่าวถึงสัญลักษณ์ในการแข่งขันครั้งนี้ว่า "ลาอีบ มีส่วนร่วมกับฟุตบอลโลกทุกครั้งที่ผ่านมา ร่วมถึงการเกิดขึ้นของเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในฟุตบอลโลกครั้งก่อน ๆ อีกด้วย"

ลาอีบ ในภาษาอาหรับหมายถึง ผู้เล่นที่มีความสามารถขั้นสูง


ลูกฟุตบอลที่ใช้ใน ฟุตบอลโลก 2022

ปีนี้ ฟีฟ่า และ อดิดาส ได้ทำการเปิดตัวลูกฟุตบอลชื่อ "อัล ริห์ลา" ที่หมายความว่า "การเดินทาง" ซึ่งจะมีจุดเด่นอยู่ที่ความเร็วของลูกฟุตบอลที่มาจากการใช้กรรมวิธีพิเศษผลิตขึ้นมาจากหมึกและกาวน้ำ

Germany v England: UEFA Nations League - League Path Group 3
Germany v England: UEFA Nations League - League Path Group 3 / Robbie Jay Barratt - AMA/GettyImages

สนับสนุนบทความของแท้ไม่ก็อปปี้ต้อง 90min.com เท่านั้น! *ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความหรือรูปภาพไม่ว่าวิธีใดๆ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฏหมายที่ระบุไว้สูงสุด